RSS

อุปการณ์คอมพิวเตอร์

 

รู้จักกับ “ส่วนเสริม” หรือ Extension

 

แท็บเล็ต

แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต ซึ่งกำลังอยู่ในกระแสนิยมไม่ว่าจะผลิตภัณฑ์ชื่อดัง ไอแพดจากค่ายแอปเปิ้ล และยิ่งมีกระแสแรงจัดจากนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่กำลังจะเข้ามาเป็นรัฐบาลคือ วันแท็บเล็ตพีซีเปอร์ไชลด์ (One Tablet PC per Child) คือแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียน

แท็บเล็ตคือคอม พิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก มีลักษณะเด่นที่ต่างจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กคือ มีส่วนประกอบแค่ชิ้นเดียว ไม่มีส่วนของแป้นพิมพ์ แต่จะใช้การติดต่อผ่านจอภาพแบบทัชสกรีน ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายขนาด ตั้งแต่ 7 นิ้ว จนถึง 10 นิ้ว แท็บเล็ตจะเน้นที่หน้าจอใหญ่เพื่อตอบสนองการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสมาร์ทโฟนถึงแม้จะใช้อ่านข้อความได้แต่มีพื้นที่จำกัดมาก

ยังมีอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับแท็บเล็ต นั่นคือ อีรีดเดอร์ (eReader) ความแตกต่างอยู่ที่การทำงานที่เฉพาะเจาะจงไว้เพื่อใช้อ่านหนังสือหรือวารสาร ไม่ได้มีคุณสมบัติการทำงานที่หลากหลายอย่างแท็บเล็ต ที่สามารถเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์เอกสาร เล่นอินเทอร์เน็ต แต่จุดเด่นของอีรีดเดอร์คือ จอแสดงผลที่ให้ความรู้สึกเหมือนหรือใกล้เคียงกับการอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษ

เทคโนโลยีการแสดงผลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตในปัจจุบัน จะมีอยู่สองเทคโนโลยีหลักคือ แอลซีดี (LCD) และโอเหล็ด (OLED) ซึ่งทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะมีแหล่งกำเนิดแสงในตัวเอง ซึ่งผู้ใช้อาจจะมีความรู้สึกปวดตา เมื่อใช้งานไปนาน ๆ เพราะแสงจ้าจากจอภาพ อีกทั้งเมื่อนำไปใช้ในที่ที่มีแสงสว่างสูง เช่น กลางแดด ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง

แต่อีรีดเดอร์ใช้เทคโนโลยีที่ต่างกันคือ ใช้ระบบ อีอิงก์ (eInk) หรือ อีเปเปอร์ (ePaper) ซึ่งจะไม่มีแหล่งกำเนิดแสงในตัวมันเอง แต่จะใช้การสะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิดแสงภายนอก เช่น หลอดไฟ แสงแดดเป็นต้น ดังนั้น อีรีดเดอร์ซึ่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะให้ความรู้สึกเหมือนกับการอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษ ซึ่งใช้หลักการสะท้อนแสงเช่นเดียวกัน ผู้ใช้จึงรู้สึกสบายตา และในที่ซึ่งมีแสงแดดแรง ก็สามารถมองเห็นได้ชัด

อีรีดเดอร์ที่โด่งดังก็คือยี่ห้อคินเดิล (Kindle) จากค่ายหนังสือออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของโลกนั่นคืออเมซอน ราคา 139 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,200 บาท หน้าจอขนาด 6 นิ้ว มีน้ำหนักแค่ 8.5 ออนซ์ หรือ 240 กรัม เบาสบายมือกว่าการถือแท็บเล็ตหรือหนังสือกระดาษ

แต่ที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ตาม โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งอีรีดเดอร์ ก็เป็นเพียงแค่ฮาร์ดแวร์เท่านั้น ซึ่งมันแทบจะไร้ค่าเลยถ้าไร้ซอฟต์แวร์หรือคอนเทนต์ ซึ่งผู้เขียนจะได้กล่าวในตอนต่อไป.

แหล่งที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=150170
chokdee@scitech.au.edu

 

ลักษณะการทำงานของ 3 G

ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกวันนี้มีใครต่อใครหลายคนกล่าวถึง 3G มากขึ้นทุกขณะ และรู้สึกตื่นเต้นอยากให้ 3G มาถึงเร็วๆ โดยเฉพาะเมื่อมีโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ออกมา ก็มักจะต้องถามกันเสมอว่าโทรศัพท์รุ่นนั้น รุ่นนี้รับรอง 3G หรือเปล่า ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่า 3G คืออะไร
3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 3 โดยอุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานระหว่าง การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต

เช่น จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรกที่เราเรียกกันเล่นๆ ว่า รุ่นกระติกน้ำ ซึ่งมีขนาดใหญ่เทอะทะ ราคาหลักแสนต่อเครื่องแล้ว ยุคที่2 คือการพัฒนาเทคโนโลยีมาสู่ยุคดิจิตอล ซึ่งการสื่อสารไร้สายยุคนี้มีคุณภาพ สัญญาณชัดเจนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีลูกเล่น มีคุณสมบัติการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น จากที่เคยใช้พูดได้อย่างเดียว
ตอนนี้จะส่งหรือรับข้อความเป็นตัวอักษร เป็นภาพ เป็นภาพกราฟฟิกก็ได้ แถมยังถ่ายภาพบันทึกวีดีโอได้ด้วย โดยที่ตัวเครื่องก็มีขนาดเล็กลง ราคาย่อมเยามากขึ้นจนแทบทุกคนมีไว้ใช้เองได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การสื่อสารไร้สารได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมหาศาล จนในปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกอยู่กว่า 1,500 ล้านคนที่เดียว
มาถึงวันนี้ เราใกล้จะถึงวิวัฒนาการขั้นที่ 3 หรือ 3G ซึ่งการสื่อสารไร้สารจะไร้ขีดจำกัดจริงๆ สามารถรองรับการสื่อสารได้แทบทุกรูปแบบ ทั้งเสียง และที่ไม่ใช่เสียงได้พร้อมกันอย่างราบรื่นไม่สะดุดหยุดชะงัก และสามารถส่ง – รับข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายได้อย่างรวดเร็ว

แหล่งที่มา

http://www.pharm.chula.ac.th/webelarning/elearning/3G/_3g3.html

 

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น
โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

แหล่งที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

 

ฉลาดล้ำโลก – ภัยอินเตอร์เน็ต

 

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต
เราสามารถนำระบบเครือข่าย Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษาได้หลากหลาย
และเกือบจะนับว่า Internet มีความจำเป็นอย่างยิ่งในระบบการศึกษาปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถาบันการศึกษาเกือบทุกสถาบัน ทั้งในระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา หรือแม้แต่ประถมศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยี Internet มาใช้ประกอบการเรียนการสอน และนำมาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้สำหรับครู-อาจารย์ มากขึ้นโดยลำดับ บางสถาบัน ได้กำหนดให้มีการลงทะเบียนเรียน แจ้งผลการเรียน หรือแม้กระทั่งเรียนผ่านทาง Internet แล้ว ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนใหญ่สามารถที่จะเชื่อมต่อใช้งาน Internet
ได้แล้วจากโครงการ SchoolNet และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้น การนิเทศการศึกษาจึงไม่ควรจำกัดเฉพาะการนิเทศโดยตรงเท่านั้น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษา จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การนิเทศการศึกษาขยายขอบข่ายได้กว้างขวางขึ้น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น

1. การสร้าง Web page เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการนิเทศ และข้อมูลเทคนิคเกี่ยวกับการเรียนการสอนต่าง ๆ
2. การใช้ E-mail สำหรับตอบปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู-อาจารย์และนักเรียน 3. การใช้โปรแกรมที่สามารถติดต่อแบบ Real time เช่น ICQ ตอบปัญหาข้อข้องใจของครู-อาจารย์ และ นักเรียน หรือใช้สำหรับประชุมทางไกล
4. การสร้างชุดการสอน หรือ CAI บน Internet ในรูปแบบของ Web page

การสร้าง Web page วิธีการนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
หรือเพื่อประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง ผู้ที่จะสร้าง Web pageได้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ทางการเขียน
โปรแกรม ภาษา HTML (Hypertext Markup Languaqe) บ้างพอสมควร ปัจจุบัน Web page ของไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีอยู่มากมาย เช่น

Web site ของ โรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SchoolNet
Web site ของกระทรวงศึกษาธิการ , กรมสามัญศึกษา , หน่วยศึกษานิเทศก์
Web site ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หมายเหตุ

Web page หมายถึง หน้าเอกสารแต่ละหน้าที่แสดงผ่านทาง Browser

Home page หมายถึง Web page หน้าแรกของเอกสารที่แสดงผ่านทาง Browser

Web site หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดที่แสดงผ่านทาง Browser ซึ่งประกอบด้วย Home page
และ Web page ทั้งหมด Web site เหล่านี้ ผู้สร้างสามารถกำหนดให้ผู้ใช้หรือผู้เยี่ยมชม
สามารถสำเนาข้อมูล แฟ้มเอกสาร หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไปใช้งานได้ หรือกำหนดให้ส่ง
E-mail ถึงเจ้าของหรือผู้ดูแลระบบได้ทันที

ดังนั้น วิธีการนิเทศในรูปแบบของการใช้ Web page สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในกรณีที่ต้องการเผยแพร
่เอกสารทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
หรือนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้ E-mail กับการนิเทศ
ศึกษานิเทศก์ สามารถให้การนิเทศได้ทั้งทางตรง และ
ทางอ้อม การนิเทศทางอ้อมที่ประหยัด รวดเร็ว ไม่จำกัด
ช่วงเวลา ได้แก่การใช้ E-mail ในการติดต่อสื่อสาร ซี่ง
ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะประยุกต์นำไปใช้ เพราะ E-mail ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเขียนจดหมายโต้ตอบกันเท่านั้น
แต่ยังสามารถที่จะส่งแฟ้มเอกสาร แฟ้มรูปภาพ และแฟ้ม
ข้อมูล ต่าง ๆ ได้อีกด้วย การใช้โปรแกรมที่ติดต่อกันแบบ
Real time เช่น โปรแกรม ICQ เราสามารถใช้โปรแกรม ICQ
ให้เป็นประโยชน์ต่อการนิเทศก์ ได้ในลักษณะเดียวกับ E-mail
ครู-อาจารย์ หรือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันที และสามารถสื่อสารพร้อมกัน
ได้หลาย ๆ คน

แหล่งที่มา

http://torauk.freeservers.com/prainter.htm

 

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า “แคมปัสเน็ตเวอร์ก” ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่” เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
– กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
– จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
– มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– มหาวิทยาลัยมหิดล
– มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
– สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
– มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ “บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา” ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า “ไทยสาร” ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ “ไทยสารอินเทอร์เน็ต” ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า “ไทยเน็ต” ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

แหล่งที่มา

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/ictinternet/internet_thailand.html

 

108 เคล็ดลับเก่งอินเตอร์เน็ต Internet